:::: MENU ::::

MYM

เรารักการแบ่งปัน

  • OfRKTf.md.png

    Sharing content

  • OfRwyb.md.png

    Sharing content

  • OfRZja.md.png

    Sharing content

09 พฤษภาคม 2558

  • 16:21
นี่เลยอาหาร 9 อย่าง ที่ช่วยแก้อาการเมาค้างได้
เวลาเมาร่างกายเราเราสูญเสียสารเคมี วิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างการออกไป เวลาเราปัสสาวะบ่อยๆ ดังนั้นต้องฟื้นฟูร่างกายหลังจากชนแก้วมาอย่างหนัก นี่คือวิธีการกินอาหารจากธรรมชาติที่ช่วยแก้อาการเมาค้าง

03 พฤษภาคม 2558

  • 13:34
คุณรู้จักผู้ชายคนนี้มั้ย...ลองดูว่าเขาคิดเขาพูดอะไร...มุมมองของเขาน่าสนใจ...ชายผู้เดินตามรอยเท้าพ่อ ชายผู้เปลี่ยนวิถีชีวิตคนนับแสน ชายผู้ทำสิ่งที่ผู้อื่นมองว่าบ้า




อ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร;ดู:คนไทยต้องลุกฮือ ต้องเปลี่ยน



อ.วิวัฒน์ ศัลยกำธร; ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สามารถทำได้ทุกระดับชั้นจริงหรือ


14 มีนาคม 2558

  • 22:04
ทำอย่างไรดี... เมื่อตั้งท้องแล้วตกขาว
ตั้งท้องแล้วตกขาว

รศ.นพ.ดิฐกานต์ บริบูรณ์หิรัญสาร
ภาควิชาสูติศาสตร์ นรีเวชวิทยา
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

หญิงตั้งท้องหลายคนอาจกังวลเมื่อเกิดอาการตกขาวขึ้น และจะมีผลต่อเนื่องไปถึงลูกในท้องหรือไม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของการอักเสบติดเชื้อ  เรามาดูกันครับ
แบบนี้ตกขาวปกติ

จริง ๆ  แล้ว การมีตกขาวนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมชาติของผู้หญิงทุกคน เนื่องจากในบริเวณช่องคลอดและปากมดลูกนั้น จะมีการสร้างสารคัดหลั่งเพื่อหล่อเลี้ยงและหล่อลื่นช่องคลอดอยู่ตลอดเวลา สารคัดหลั่งเหล่านี้แหละที่คุณผู้หญิงทุกคนมีและถือว่าเป็นตกขาวที่ปกติ   ลักษณะของตกขาวปกติ จะเป็นมูกใสหรือขาวขุ่นคล้ายแป้งเปียก  ปริมาณไม่มากนัก อาจมีทุกวัน วันละเล็กน้อย  เรื่องของลักษณะและปริมาณของตกขาวนั้นขึ้นกับอิทธิพลของฮอร์โมนในร่างกายด้วย

ในช่วงที่ยังไม่ตั้งท้อง คุณแม่อาจเคยสังเกตว่าลักษณะและปริมาณของตกขาวนั้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามรอบประจำเดือน โดยเฉพาะในช่วงกลางรอบประจำเดือน หรือช่วงไข่ตกนั้น ตกขาวจะเป็นมูกใส เหนียว ยืดได้ดี และมีปริมาณมากขึ้นกว่าในช่วงอื่น ๆ  ซึ่งเป็นผลจากฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงไปนั่นเอง ช่วงที่ตั้งท้องก็เช่นเดียวกันครับ  ฮอร์โมนจะเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะฮอร์โมนเพศหญิงจะสูงขึ้นกว่าปกติ ซึ่งแน่นอนว่ามีผลต่อลักษณะและปริมาณของตกขาวปกติด้วย  คงจะพอเดาได้นะครับว่าช่วงที่ตั้งท้องนั้นจะมีตกขาวออกมาปริมาณมากกว่าปกติ แต่ก็ถือว่าเป็นปกติครับ ฟังดูแล้วอาจสับสนบ้างเล็กน้อยนะครับ "มากกว่าปกติ" แต่ "ปกติ" แต่ก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ  คือจะมีตกขาวที่เป็นปกติออกมามากกว่าเดิมครับ

การเปลี่ยนแปลงของร่างกายในช่วงตั้งท้องนี่แหละครับที่ทำให้คุณแม่หลายคนเกิดความกังวลใจ คิดว่าเกิดความผิดปกติขึ้นกับตัวเอง และบางรายอาจกังวลไปถึงว่าจะมีผลต่อลูกในท้องอีกด้วย คุณแม่บางคนจะบ่นให้คุณหมอฟังเกือบทุกครั้งที่มาฝากท้อง แต่พอตรวจแล้วก็ปกติทุกที แต่ก็ยังอดกังวลไม่ได้อยู่ดี "ปกติ" ก็คือปกติแหละครับ ไม่มีอะไรผิดปกติทั้งสิ้น  ไม่ว่ากับตัวคุณแม่เองหรือลูกในท้อง รู้อย่างนี้แล้วคงจะสบายใจขึ้นมาบ้างนะครับ

แต่ใช่ว่าจะไม่ต้องสนใจตัวเองโดยเฉพาะเรื่องตกขาวระหว่างตั้งท้องเลยนะครับ ที่ควรจะต้องคอยดูแลตนเอง ก็คือ คอยสังเกตว่าตกขาวที่ออกมานั้นมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหรือไม่ อย่างไร

07 กุมภาพันธ์ 2558

  • 11:15
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ

การนอนหลับเป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ได้รับความสนใจ และพูดถึงมาตั้งแต่ยุคสมัยของปรัชญากรีกตอนต้นที่ยังรุ่งเรืองอยู่ ถึงแม้จะมีความเป็นมาที่ยาวนาน แต่ก็เพิ่งจะมีการหันมาให้ความสนใจและเริ่มศึกษากันอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้เอง

เนื่องมาจากการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าของสมอง ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าไปศึกษาทำความเข้าใจการทำงานของสมองได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะการศึกษาการทำงานของสมองในขณะที่เรานอนหลับ ทำให้ปัจจุบันเราเข้าใจกลไกของการนอนหลับได้มากกว่าเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเราจะมีความก้าวหน้า และมีข้อมูลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการนอนหลับอยู่อย่างมากมาย เราสามารถศึกษาการเชื่อมโยงของปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการนอนหลับ แต่ก็ใช่ว่าบรรดานักวิทยาศาสตร์จะสามารถให้เหตุผลได้อย่างเห็นพ้องต้องกันทุกคนว่า ทำไมเราจึงต้องนอนหลับ

มีทฤษฎีที่แตกต่างกันที่พยายามนำเสนอเพื่ออธิบายความจำเป็นของการนอนหลับรวมไปถึงความต้องการในการนอนหลับ และกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในขณะที่เรานอนหลับอยู่มีอยู่ 3 ทฤษฎีหลักๆ ที่ได้รับการยอมรับ ที่อยากจะนำมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้เรามองเห็นภาพกว้าง ของการนอนหลับได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
Repair and Restoration Theory of Sleep
ทฤษฎีที่ 1 
ทฤษฎีที่ว่าด้วย การซ่อมแซมและการฟื้นฟู (Repair and Restoration Theory of Sleep)
ทฤษฎีนี้กล่าวว่า การนอนหลับเป็นความจำเป็นของร่างกายเพื่อช่วยในการฟื้นฟูกระบวนการทำงานต่างๆ ของร่างกายให้เป็นไปอย่างปรกติ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

ทฤษฎีนี้ยังระบุว่า การนอนหลับแบบนิ่งเฉย (N-REM) มีความสำคัญมากสำหรับการฟื้นฟูสภาพการทำงานของร่างกาย ในขณะที่การนอนหลับแบบตื่นตัว (REM) มีความสำคัญมากสำหรับการฟื้นฟูสภาพการทำงานของ จิตใจ

สำหรับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยค้นคว้าเพื่อสนับสนุนทฤษฎีนี้ แสดงให้เห็นว่าช่วงระยะเวลาของการหลับแบบ REM จะทำให้ร่างกายได้พักผ่อนน้อยลง เนื่องจากร่างกายยังคงมีกิจกรรมบางอย่างเกิดขึ้น ในขณะที่ยังหลับที่เราเรียกกันว่า “ความฝัน”

สำหรับภาพรวมระหว่างการนอนหลับนั้น สิ่งที่ร่างกายทำก็คือ จะเป็นช่วงเวลาที่มีการเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ และเกิดกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน (Protein Synthesis) ซึ่งมันจะช่วยให้ร่างกายได้รับการซ่อมแซมและฟื้นฟูสภาพ จากการที่ต้องทำงานมาตลอดวัน

20 มกราคม 2558

  • 22:40
เรามีความต้องการในการนอนวันละกี่ชั่วโมง

ไม่ได้มีการเฉพาะเจาะจงลงไปว่าคนเราต้องการเวลาในการนอนเท่าไร เนื่องจากว่าเป็นเรื่องขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ผลจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ บ่งบอกให้เราทราบว่า คนเราต้องการเวลาในการนอนอยู่ในช่วงระหว่าง 5-17 ชั่วโมง เป็นการรวบรวมมาจากทุกเพศทุกวัย แต่ถ้าจะให้เฉลี่ยออกมาแล้ว ก็จะอยู่ที่ประมาณ 7.75 ชั่วโมง ตามที่เรามักจะได้รับคำแนะนำว่า คนเราควรนอนพักผ่อนให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง...นี่เป็นตัวเลขที่เรารับรู้กันมาตลอด

ระยะเวลาการนอนที่เหมาะสมควรเป็นเท่าใด?
จำเป็นมั้ย ที่เราจะต้องนอนให้ได้เพียงพอวันละ 8 ชั่วโมง จะมากจะน้อยกว่านี้ได้มั้ย? 

จากการศึกษาวิจัยของ Jim Horne ที่ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการนอนหลับในศูนย์วิจัยการนอนหลับที่ Loughborough University เขาได้ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า “จำนวนชั่วโมงของการนอนที่พวกเราต้องการ คือจะต้องไม่ทำให้เรารู้สึกง่วงเหงาหาวนอนในเวลากลางวัน”
นอกจากมนุษย์ที่มีความต้องการในการนอนที่แตกต่างกันออกไปแล้ว สัตว์แต่ละชนิดก็มีความต้องการในการนอนที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน

วัยต่างๆ ของมนุษย์
ความต้องการในการนอนหลับ
แรกเกิด – 2 เดือน
12 – 18 ชั่วโมง
3 – 11 เดือน
14 – 15 ชั่วโมง
1 – 3 ปี
12 – 14 ชั่วโมง
3 – 5 ปี
11 – 13 ชั่วโมง
5 – 10 ปี
10 – 11 ชั่วโมง
10 – 17 ปี
8.5 – 9.25 ชั่วโมง
ผู้ใหญ่
7 – 9 ชั่วโมง

ข้อมูลจาก National Sleep Foundation USA

สายพันธุ์ต่างๆ ของสัตว์
ความต้องการในการนอนหลับ
งูเหลือม
18 ชั่วโมง
เสือ
15.8 ชั่วโมง
แมว
12.1 ชั่วโมง
ลิงชิมแปนซี
9.7 ชั่วโมง
แกะ
3.8 ชั่วโมง
ช้างแอฟริกา
3.3 ชั่วโมง
ยีราฟ
1.9 ชั่วโมง

ข้อมูลจาก Jim Horn: Loughborough University’s Sleep Research

04 มกราคม 2558

  • 12:20
การนอน ทำไมเราถึงต้องนอน?
ทำไมเราถึงต้องนอน

“เราใช้เวลา 1/3 ของชีวิตไปกับการนอน”
“นโปเลียน, ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล และมาร์กาเรต เทตเชอร์ นอนคืนละ 4 ชั่วโมง”
“โธมัส อัลวา เอดิสัน บอกว่า การนอนทำให้สิ้นเปลืองเวลาโดยเปล่าประโยชน์”


แล้วทำไมเราต้องนอน?นี่เป็นคำถามที่เหล่านักวิทยาศาสตร์ยังคงงุ่มง่ามในการหาคำตอบ และยังไม่สามารถไขความกระจ่างให้ได้นับเป็นศตวรรษแล้ว

บ้างก็เชื่อว่าการนอนจะทำให้ร่างการของเราได้มีโอกาสที่ดีในการฟื้นคืนสภาพ จากกิจกรรมต่างๆที่ต้องทำมาตลอดทั้งวัน แต่ในความเป็นจริงแล้วพลังงานที่เราได้ฟื้นคืนมาจากการนอนหลับพักผ่อน ถ้าคำนวณออกมาแล้วก็จะมีค่าประมาณ 50 กิโลแคลอรี่เท่านั้นเอง ซึ่งเทียบเท่ากับพลังงานที่เราได้จากการกินขนมปังเพียงหนึ่งแผ่นเท่านั้นเอง...ไม่น่าเชื่อใช่มั้ย

บ้างก็เชื่อว่าการนอนของคนเราในเวลากลางคืน ก็เพื่อให้จิตใต้สำนึกได้ทำการเรียบเรียงจัดลำดับความนึกคิดต่างๆที่เราได้รับเข้ามาตลอดทั้งวันที่ผ่านมา เพื่อที่จะได้จัดวางความคิดบางเรื่องให้อยู่ในความทรงจำได้นานๆ

บางความเชื่อก็ว่า เรานอนหลับเพราะว่าเป็นความจำเป็นของร่างกายที่จะต้องทำการซ่อมบำรุงระดับของทักษะในการจดจำเรียนรู้ เช่น การพูด การจำ การคิดอะไรใหม่ๆ และเพื่อให้เกิดการยืดหยุ่นทางความคิด เพื่อการปรับตัวให้เหมาะสมในการดำรงชีวิต หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ...การนอนมีบทบาทสำคัญต่อการรักษา พัฒนา และคงไว้ซึ่งความสามารถของสมองนั่นเอง...การนอนมีประโยชน์แน่นอน ถ้านอนอย่างพอดี
ในการนอนหลับของคนเรานั้น อวัยวะที่ทำหน้าที่แสดงบทบาทสำคัญเป็นพระเอกก็คือสมอง หาใช่ตา หรืออวัยวะส่วนอื่นของเรา เพราะแม้ว่าคนเราจะหลับ แต่สมองของเราก็คงยังทำงานอยู่ตลอดนั่นเอง

ก่อนตอบคำถามว่า ทำไมเราต้องนอน?
เราต้องทำความเข้าใจการทำงานของสมองกันหน่อย

สำหรับสมองของเรา ว่ากันโดยย่อ...สมองของคนเราประกอบด้วยเซลล์ประสาทอยู่มากมายนับล้านๆ เซลล์ แต่มีเซลประสาทอยู่ชนิดหนึ่งเรียกว่า นิวรอน Neuron อยู่จำนวนมากมาย นับเป็นพันล้านเซลล์  ที่สำคัญเซลล์เหล่านี้จะมีการเชื่อมโยงติดต่อถึงกันเหมือนถนนที่มีการเชื่อมต่อกันเป็นโครงข่าย เพื่อการคมนาคมขนส่งและเชื่อมโยงไปตามส่วนต่างๆได้อย่างทั่วถึง โดยนิวรอนจะทำหน้าที่เป็นช่องทางการขนส่งอนุภาคทางไฟฟ้า ผ่านเยื่อเซลล์ เช่น เมื่อเซลล์ประสาทส่วนหนึ่งได้รับการกระตุ้น จากสารเคมีที่ร่างกายผลิตออกมา นิวรอน จะปล่อยอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าให้เดินทางไปตามใยประสาท Nerve Fiber ที่เชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาท ไปกระตุ้นเซลล์ประสาทถัดไปให้ปล่อยประจุไฟฟ้าต่อไปเป็นทอดๆ

A call-to-action text Contact us