:::: MENU ::::

MYM

เรารักการแบ่งปัน

  • OfRKTf.md.png

    Sharing content

  • OfRwyb.md.png

    Sharing content

  • OfRZja.md.png

    Sharing content

07 กุมภาพันธ์ 2558

  • 11:15
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการนอนหลับ

การนอนหลับเป็นสาขาวิชาหนึ่งที่ได้รับความสนใจ และพูดถึงมาตั้งแต่ยุคสมัยของปรัชญากรีกตอนต้นที่ยังรุ่งเรืองอยู่ ถึงแม้จะมีความเป็นมาที่ยาวนาน แต่ก็เพิ่งจะมีการหันมาให้ความสนใจและเริ่มศึกษากันอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้นเมื่อเร็วๆ นี้เอง

เนื่องมาจากการค้นพบเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น เทคโนโลยีการตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าของสมอง ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถเข้าไปศึกษาทำความเข้าใจการทำงานของสมองได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะการศึกษาการทำงานของสมองในขณะที่เรานอนหลับ ทำให้ปัจจุบันเราเข้าใจกลไกของการนอนหลับได้มากกว่าเมื่อเทียบกับในอดีตที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าเราจะมีความก้าวหน้า และมีข้อมูลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับเรื่องการนอนหลับอยู่อย่างมากมาย เราสามารถศึกษาการเชื่อมโยงของปรากฏการณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการนอนหลับ แต่ก็ใช่ว่าบรรดานักวิทยาศาสตร์จะสามารถให้เหตุผลได้อย่างเห็นพ้องต้องกันทุกคนว่า ทำไมเราจึงต้องนอนหลับ

มีทฤษฎีที่แตกต่างกันที่พยายามนำเสนอเพื่ออธิบายความจำเป็นของการนอนหลับรวมไปถึงความต้องการในการนอนหลับ และกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ในขณะที่เรานอนหลับอยู่มีอยู่ 3 ทฤษฎีหลักๆ ที่ได้รับการยอมรับ ที่อยากจะนำมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้เรามองเห็นภาพกว้าง ของการนอนหลับได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
Repair and Restoration Theory of Sleep
ทฤษฎีที่ 1 
ทฤษฎีที่ว่าด้วย การซ่อมแซมและการฟื้นฟู (Repair and Restoration Theory of Sleep)
ทฤษฎีนี้กล่าวว่า การนอนหลับเป็นความจำเป็นของร่างกายเพื่อช่วยในการฟื้นฟูกระบวนการทำงานต่างๆ ของร่างกายให้เป็นไปอย่างปรกติ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

ทฤษฎีนี้ยังระบุว่า การนอนหลับแบบนิ่งเฉย (N-REM) มีความสำคัญมากสำหรับการฟื้นฟูสภาพการทำงานของร่างกาย ในขณะที่การนอนหลับแบบตื่นตัว (REM) มีความสำคัญมากสำหรับการฟื้นฟูสภาพการทำงานของ จิตใจ

สำหรับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยค้นคว้าเพื่อสนับสนุนทฤษฎีนี้ แสดงให้เห็นว่าช่วงระยะเวลาของการหลับแบบ REM จะทำให้ร่างกายได้พักผ่อนน้อยลง เนื่องจากร่างกายยังคงมีกิจกรรมบางอย่างเกิดขึ้น ในขณะที่ยังหลับที่เราเรียกกันว่า “ความฝัน”

สำหรับภาพรวมระหว่างการนอนหลับนั้น สิ่งที่ร่างกายทำก็คือ จะเป็นช่วงเวลาที่มีการเพิ่มการแบ่งตัวของเซลล์ และเกิดกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน (Protein Synthesis) ซึ่งมันจะช่วยให้ร่างกายได้รับการซ่อมแซมและฟื้นฟูสภาพ จากการที่ต้องทำงานมาตลอดวัน


Evolutionary Theory of Sleep
ทฤษฎีที่ 2
ทฤษฎีที่ว่าด้วยวิวัฒนาการ (Evolutionary Theory of Sleep)
ทฤษฎีที่ว่านี้รู้จักกันในนาม การปรับตัวหรือ Adaptive Theory of Sleep กล่าวว่าช่วงเวลาของการนอนที่มีทั้ง ช่วงการนอนหลับแบบนิ่งเฉย (N-REM) และช่วงการนอนหลับแบบตื่นตัว (REM) เป็นการรักษาพลังงานของร่างกายให้สมดุล ซึ่งถ้ามองตามคำกล่าวของทฤษฎีนี้ สัตว์ทุกสายพันธุ์จะมีช่วงเวลาของการได้ปรับตัว ก็เฉพาะช่วงเวลาของการนอน แต่ในขณะที่ตื่นอยู่น่าจะเป็นช่วงเวลาที่อยู่กับภาวะเสี่ยงอันตรายและควรระมัดระวัง

สำหรับข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิจัยค้นคว้าเพื่อสนับสนุนทฤษฎีนี้ จากสัตว์สายพันธุ์ต่างๆ กัน สัตว์สายพันธุ์ที่เป็นนักล่าเล็กน้อย เช่น หมี สิงห์โต จะนอนหลับประมาณ 12 – 15 ชั่วโมงต่อวัน ในขณะที่สัตว์ที่มีสายพันธุ์นักล่าเต็มตัว จะนอนหลับน้อยมาก ปกติจะอยู่ประมาณ 4 – 5 ชั่วโมงต่อวัน

Information Consolidation Theory of Sleep
ทฤษฎีที่ 3 
ทฤษฎีการรวบรวมข้อมูล (Information Consolidation Theory of Sleep)
ทฤษฎีนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานของการค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการเรียนรู้จดจำ เสนอว่าการที่คนเรานอนหลับก็เพื่อจัดการกับข้อมูลต่างๆที่ได้รับมาตลอดวัน ให้เข้าที่เข้าทางและยังเสนอเพิ่มเติมอีกว่า การนอนหลับของคนเราก็เพื่อ เตรียมพร้อมสำหรับการเผชิญกับเหตุการณ์ในวันต่อไป ในการจัดเก็บข้อมูลที่ได้รับเข้ามาก็เพื่อช่วยให้เราสามารถจดจำได้ยาวนานขึ้น

สำหรับข้อมูลที่สามารถสนับสนุนทฤษฎีนี้ได้ก็คือ การทดสอบความสามารถในการจดจำของสมอง แสดงให้เห็นว่าความสามารถจะลดลงอย่างชัดเจน เมื่อคนเรานอนหลับไม่เพียงพอ หรือเมื่อมีการอดนอน จะทำให้สมองจดจำและเข้าถึงความจำได้ยากขึ้น

จากทฤษฎีที่กล่าวมาข้างต้น ถึงแม้ว่าจะมีข้อมูลการวิจัยต่างๆ มาสนับสนุนเกี่ยวกับทฤษฎีการนอนหลับแบบต่างๆก็ตาม แต่ก็ยังไม่สามารถระบุให้ชัดลงไปได้ว่าทฤษฎีใดที่ถูกต้องมากที่สุด เราเพียงแต่สามารถนำมาใช้อธิบายว่า เหตุใดเราจึงต้องนอนหลับเท่านั้น

อาจสรุปได้ว่า การนอนหลับมีผลกระทบต่อกระบวนการต่างๆ ของร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน การนอนหลับก็เกิดขึ้นมาจากหลายๆ เหตุผลและมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป สิ่งที่เราควรจะเรียนรู้กันต่อไปก็คือ... “แล้วมันมีอะไรเกิดขึ้นบ้างในระหว่างการนอนหลับ หรือขั้นตอนในการนอนหลับมันเป็นอย่างไร”

A call-to-action text Contact us